อัลไซเมอร์ ไม่ใช่โรค ความ รุนแรง แต่เป็น โรค ที่ต้องการความเข้าใจ มักเกิดขึ้นกับผู้ สูงอายุ ที่จะทำให้ผู้ป่วยเสียความทรงจำการรับรู้ บางคนเข้าใจว่าเป็น โรค ที่ดูแล ยาก แต่วันนี้เราจะมาแนะวิธี ทำยังไงให้อยู่กับ ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ให้ มีความสุข
โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer's Disease ) เป็น โรค ที่เกิดจากภาวะของ สมองเสื่อม ที่พบได้มากที่สุด ที่ส่งผลต่อ สมอง ส่วนที่ควบคุมทางความคิด ความทรงจำ การใช้ภาษา โดย อาการ ของ โรค เริ่มจากการ หลงลืม ที่ไม่ รุนแรง จนแย่ลงเรื่อยๆ ถึงขั้นไม่สามารถสนทนาหรือตอบโต้ หรือ การตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันร้ายแรง สถิติของผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ในไทยมีทั้งหมดประมาณ 6 แสนคน และมักพบในกลุ่มผู้ สูงอายุ และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ
อาการของโรคอัลไซเมอร์
เริ่มแรกของ อัลไซเมอร์ อาจมีการ หลงๆ ลืมๆ หรือภาวะสับสนที่ค่อยๆ พัฒนาไปช้าๆ โดยใช้เวลาหลายปี อาการ ของ อัลไซเมอร์ โดยทั่วสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ
1. ระยะเริ่มต้น
อาการ ในช่วงต้นที่ ผู้ป่วย โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer's Disease ) แต่ละรายจะแตกต่างกัน โดยเริ่มแรกมักพบได้ก็คือ หลงลืม ที่อาจส่งผลให้กับ ผู้ป่วย เผชิญกับสถานการณ์ เช่น ลืม บทสนทนา หรือ เหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้น ทำอะไรซ้ำๆ ย้ำๆ วางของผิดที่ อารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง เช่น หงุดหงิด วิตกกังวลกว่าปกติ สับสน
2. ระยะกลาง
อาการ ของ ผู้ป่วย โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer's Disease ) เริ่มพัฒนาถึงขึ้น ที่ผู้ป่วยยิ่งมีปัญหาด้าน ความทรงจำ เป็น ผู้ป่วย ที่มักได้รับการช่วยเหลือชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร อาบน้ำแต่งตัว การเข้าห้องน้ำ โดย อาการ จะแสดงเพิ่มขึ้นอีกระดับ เช่น ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีปัญหาเกี่ยวกับการพูดหรือการใช้ภาษาสื่อสาร พฤติกรรมหมกมุ่น ทำอะไรซ้ำๆ การจำชื่อของคนรู้จักกลายเป็นเรื่องยากขึ้น
3. ระยะปลาย
อาการของ โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer's Disease ) ที่ รุนแรง ขึ้นมากและวิตกกังวลมาให้บุคคลใกล้ชิด ระยะนี้ต้องได้รับการ ดูแล ตลอดเวลา จะมีอาการที่หลงผิด หรือ ประสาทหลอนที่เป็นๆ หายๆ กลับยิ่งแย่หลง ผู้ป่วย อาจอาละวาด เรียกร้องความสนใจ กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ มีอาการชัก
วิธีการใช้ชีวิตร่วมกับ ผู้ป่วย โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer's Disease ) อย่างไรไง มีความสุข และเพื่อคนในครอบครัว และผู้ ดูแล มีชีวิตที่ดีขึ้น
1. ให้ความรักแก่ผู้ป่วย
ถึงแม้คนที่คุณรักจะมีอาการทรุดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถจดจำเรื่องราวในอดีตรวมถึงการสูญเสียความสามารถในการคิด และ ตัดสินใจ แต่คนใน ครอบครัว หรือ ผู้ ดูแล คนป่วย ควรที่จะพึงระลึกเสมอว่า คนที่เรารักยังอยู่ใกล้ๆ และยังต้องการความรัก เอาใจใส่ การดูแล ดูแล จิตใจ เพราะฉะนั้น การแสดงความรัก ความห่วงใย การกอด พูดคุย จับมือ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการช่วยให้กำลังใจกันและกัน
2. วางแผนการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์
ครอบครัว และ ผู้ดูแล ควรมีการวางแผนในการ ดูแล ผู้ป่วย ร่วมกันกับ แพทย์ ผู้เชียวชาญ ด้านการ ดูแล ผู้ สูงอายุ ในระยะยาว เพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง เมื่ออยู่ที่บ้าน และวางแผนที่คลอบคลุม เช่น ด้านการเงิน การปรับปรุงที่อยู่อาศัย อำนวยความสะดวก และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย
3. ทำกิจกรรมกับคนป่วย หรือ คนที่เรารัก
ผู้ป่วย โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer's Disease ) ในระยะแรกจะยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ บุคคลในครอบครัว จึงควรที่จะหากิจกรรมที่สามารถทำร่วมกับ ผู้ป่วย ได้ เช่น การเดินออกกำลังกาย เพื่อให้ สุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรง หรือการฟังเพลง การเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจ การอ่านหนังสือ จะช่วยเรื่องการชะลอการ เสื่อม ของ สมอง และยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง ผู้ดูแล และ ผู้ป่วยได้ดีอีกด้วย
4. ให้เวลากับตัวเองได้พักผ่อนและผ่อนคลาย
การที่เราอยู่กับ ผู้ป่วย อย่างต่อเนื่องเวลานาน อาจก่อให้เกิดความเครียด การพักผ่อนและผ่อนคลาย จึงมีความจำเป็น เพื่อให้คน ดูแล มี สุขภาพ กายและ จิตใจ ที่ดีของตัวเอง และเพื่อให้สามารถดูแล เอาใจใส่ผู้ป่วย ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพที่ดีด้วย
5. แบ่งหน้าที่ในการดูแล
การดูแล ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ สมาชิกใน ครอบครัว และ ผู้ดูแล ควรจะคำนึงถึงความพร้อมในการ ดูแล ผู้ป่วย ควรมีการแบ่งหน้าที่ในการ ดูแล ผู้ป่วย อย่างเหมาะสมไม่ควรที่จะมอบหมายหน้าที่ให้ใครคนใดคนหนึ่งในครอบครัว ดูแล ผู้ป่วย ตลอดเวลา โดยไม่มีการหยุดพัก เนื่องจากอาจทำให้เกิดความเครียด แลจะส่งผลต่อสุขภาพ จิตใจ ได้
6. ไม่ควรแบกภาระหนักไว้คนเดียว
ครอบครัว และ ผู้ดูแล ไม่จำเป็นที่จะต้องให้การ ดูแล ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ และทำทุกอย่างด้วยตนเองเสมอ เราสามารถเรียกใช้บริการภายนอกได้ เช่น บริการทำความสะอาด การดูแลวันต่อวัน เพื่อที่จะลดภาระและหน้าที่ให้เบาลง
7. เรียนรู้เกี่ยวกับอัลไซเมอร์ให้มากขึ้น
อาการ ของ โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer's Disease ) ไม่ได้เพียงแค่การสูญเสีย ความทรงจำ แต่เป็นความผิดปกติของ สมอง ที่จะส่งผลต่อความรู้สึก ความสามารถในการสื่อสาร และบางรายอาจจะมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย เพราะฉะนั้น ครอบครัว และ ผู้ ดูแล ควรเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคอัลไซเมอร์ ให้มาก รวมถึงการหาข้อมูล เรียนรู้ด้วยตนเอง หรือการปรึกษา แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแล ผู้ป่วย
อ่านบทความเพิ่มเติม
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :