MWWellness กายภาพบำบัด โรคไหล่ห่อ คอยื่น ให้ถูกวิธี

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร กายภาพบำบัด โรคไหล่ห่อ คอยื่น ให้ถูกวิธี

MWWellness เคยสังเกตกันมั้ยว่าตัวเองเป็นคน ไหล่ห่อ คอยื่น รึเปล่า เพราะมนุษย์ออฟฟิศมักเป็นกันเวลานั่งทำงานหน้าคอมจะเกิด อาการ โรคไหล่ห่อ แบบไม่รู้ตัว เราจึงต้องทำการ กายภาพบำบัด เพราะถ้าไม่ทำนอกจากจะเสียบุคลิกแล้ว หากปล่อยไว้นานยังส่งผลเสียต่อ สุขภาพ ด้วย

กายภาพบำบัด โรคไหล่ห่อ คอยื่น ให้ถูกวิธี

กายภาพบำบัด โรคไหล่ห่อ คอยื่น ให้ถูกวิธี


เคยสังเกตกันมั้ยว่าตัวเองเป็นคน ไหล่ห่อ คอยื่น รึเปล่า เพราะมนุษย์ออฟฟิศมักเป็นกันเวลานั่งทำงานหน้าคอมจะเกิด อาการ โรคไหล่ห่อ แบบไม่รู้ตัว เราจึงต้องทำการ กายภาพบำบัด เพราะถ้าไม่ทำนอกจากจะเสียบุคลิกแล้ว หากปล่อยไว้นานยังส่งผลเสียต่อ สุขภาพ ด้วย

ไหล่ห่อ คอยื่น ( Upper Cross Syndrome ) เกิดจากอะไร และ แก้ได้ย่างไร

 

โรคไหล่ห่อ คอยื่น เกิดจากการทำงานที่ไม่สมดุลของ กล้ามเนื้อ โครงร่าง บางมัดตึงมากจนหดสั้นบางมัดอ่อนแรงเกินไป ทำให้ลักษณะโครงสร้าง ร่างกาย ภายนอกของเราเปลี่ยนแปลงไป หรือที่เรียกว่า ( Poor Posture ) นั่นเอง โดยมีลักษณะดังนี้

  • ศีรษะ และ คอยื่น ไปทางด้านหน้า
  • กระดูกสันหลัง ส่วน คอแอ่นมากกว่าปกติ
  • ไหล่ห่อ หรือ งุ้มไปทางด้านหน้า
  • บ่ายกขึ้น
  • กระดูกสันหลัง ส่วนอกมีลักษณะโค้งมากกว่าปกติ
  • สะบัก เคลื่อตัวไปทางด้านหน้า และ ขอบ สะบัก ด้านหลังนูนออกมาอย่างเห็นได้ชัด

 

ซึ่งนัก กายภาพบำบัด บอกว่าเป็นภาวะที่ กล้ามเนื้อ โครงสร้าง ร่างกาย ส่วนบนทำงานไม่สมดุลกัน หรือกล่าวได้ว่า เมื่อเราอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ กล้ามเนื้อ เราก็จะทำงานไม่สมดุลกันทำให้สักษณะโครงสร้าง ร่างกาย ภายนอกของเราเกิดการปรับตัวในทางที่ไม่ถูกต้องและเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างได้ชัด แน่นอนว่ายิ่งปล่อยไว้นานก็จะยิ่งแย่ลง และรวมถึงส่งผลต่อ บุคลิกภาพ ของเราด้วย ซึ่งบางรายอาจพบ อาการ ปวด บริเวณ กล้ามเนื้อคอ บ่า สะบักร่วมด้วย พบมากในกลุ่มคนที่มีลักษณะงานที่ต้องนั่งนาน ๆ ร่วมกับการเพ่งมองสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น งานออฟฟิศ ขับรถทางไกล นักเรียน นักศึกษาก็สามารถพบได้เช่นกัน

 

กายภาพบำบัด หรือ รักษา โรคไหล่ห่อ คอยื่น ให้ถูกวิธี

 

เราต้องตัดวงจรที่จะทำให้เกิดภาวะนี้ กล่าวคือ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของเรา ไม่ให้อยู่ในท่าเดิม ๆ นาน ๆ ควรขยับหรือเปลี่ยนท่าทางทุก ๆ 1 – 2 ชั่วโมง ยืด กล้ามเนื้อ และ ออกกำลังกาย ร่วมด้วยโดยจะแนะนำท่ายืด กล้ามเนื้อ และ ออกกำลังกาย ดังนี้

 

  • ยืด กล้ามเนื้อคอ บ่า โดยนั่งหลังตรง หน้ามองตรงแขนข้างนึงไขว้หลัง และอีกข้างจับ ศีรษะ ของเราดึงเอียงมาด้านตรงข้ามมัดที่ต้องการยืดค้างไว้ 10 วินาที แล้วปล่อย ทำซ้ำ ๆ ต่อกัน 3 – 5 ครั้ง

 

  • ยืด กล้ามเนื้อคอ บ่า ด้านหลัง โดยนั่งหลังตรง ก้มหน้ามองขาข้างตรงข้าม บ่า ที่ต้องการยืด แขนข้างนึงไขว้หลัง อีกข้างจับ ศีรษะ ของเราดึงเฉียงมาทางด้านหน้าประมาณ 45 องศา ค้างไว้ 10 วินาที แล้วปล่อย ทำซ้ำ ๆ ต่อกัน 3 – 5 ครั้ง

 

  • ยืด กล้ามเนื้อ ส่วนอก โดยเราต้องยืนข้างมุมกำแพงแล้วยกแขนข้างนึงวางทาบไว้บนกำแพงในท่าลักษณะของการตั้งฉาก แล้วบิดตัวออกจากกำแพง โดยเราจะต้องรู้สึกตึงที่ กล้ามเนื้อ บริเวณอก แล้วทำค้างไว้ประมาณ 10 วินาทีแล้วจึงปล่อย ทำซ้ำ ๆ ต่อกัน 3 – 5 ครั้ง

 

  • ออกกำลังกาย กล้ามเนื้อคอ ในท่า ( Chin – in Exercise ) หรือท่าโชว์เหนียง โดยเราต้องนั่งหลังตรง หน้ามองตรง แล้วออกแรงที่ คอ ดันคาง ไปข้างหลังโดยตาเรามองตรงไปด้านหน้าอยู่ตลอดเวลา ไม่ก้ม ไม่เงย ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที แล้วปล่อย ทำซ้ำ ๆ ติดต่อกัน 10 – 20 ครั้ง ทำอย่างน้อยวันละ 3 เซ็ต

 

การรักษาทาง กายภาพบำบัด

 

ถ้ามี อาการ ปวดร่วมด้วย หรือ ต้องการปรึกษานัก กายภาพบำบัด ทางคลินิกจะให้การรักษาโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ร่วมกับการแนะนำท่า ยืดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกาย และปรับโครงสร้าง ร่างกาย ดังนี้

 

  • ใช้เครื่อง ( Focus Shock Wave )

ซึ่งเป็นคลื่นกระแทกไปยังบริเวณ กล้ามเนื้อ ที่มี อาการปวด เพื่อลด อาการปวด และเร่งการซ่อมแซมตัวเอง

 

  • ใช้เครื่อง ( High Power Laser )

เพื่อเติมพลังงาน เร่งการซ่อมแซมตัวเอง และ ลดการอักเสบ โดยใช้เป็นพลังงานแสงไปยัง คอ บ่า สะบัก

 

  • เครื่อง กระตุ้นไฟฟ้า

การ กระตุ้นไฟฟ้า บริเวณ กล้ามเนื้อคอ บ่า สะบัก ทำเพื่อลด อาการปวด และ คลาย กล้ามเนื้อ ได้

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

แนะนำ อาหารสำหรับคนเป็น โรคภูมิแพ้ ที่ควรทาน

ไม่ถ่ายอันตรายแค่ไหน

 


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook