วุ้นในตาเสื่อม ( Eye Floaters ) เป็นอาการ การมองเห็นจุด หรือ เงาดำ คล้าย ๆ หยากไย่ ลอยไปมา โดยมักจะ เห็นชัดขึ้น เมื่อมอง ขึ้นไปบน ท้องฟ้า หรือ มองผนัง สีขาว แต่จะหายไป เมื่อพยายาม เพ่งมอง ภาวะนี้ อาจเกิดขึ้น ที่ดวงตา ข้างหนึ่ง หรือ สองข้าง ก็เป็นได้
อาการ วุ้นในตาเสื่อม มักจะ พบใน ผู้ที่มีอายุ ระหว่าง 50 – 75 ปี และ อาจพบ ในผู้ที่มี ปัจจัยเสี่ยง ด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1) ผู้ที่มี สายตาสั้น โดยเฉพาะ ค่าสายตา ตั้งแต่ 600 ขึ้นไป
2) ผู้ที่เคย เข้ารับ การผ่าตัด รักษา ต้อกระจก
3) ผู้ที่มี มีภาวะ ผิดปกติ ในดวงตา จากโรค หรือ จากการ ได้รับ บาดเจ็บ อย่างเช่น วุ้นตา หรือ จอตา อักเสบ จากการ ติดเชื้อ และ โรคเกี่ยวกับ ระบบ ภูมิคุ้มกัน เลือดออก ในดวงตา จอตา ฉีกขาด ( Retinal Tear ) และ เนื้องอก ในดวงตา
4) ผู้ที่มี โรคประจำตัว อย่างเช่น เบาหวานขึ้นตา ( Diabetic Retinopathy ) และ ไมเกรน ปวดศีรษะ
ทั้งนี้ การเพ่ง หน้าจอ คอมพิวเตอร์ เป็นเวลานาน อาจไม่ได้ ทำให้เกิด วุ้นในตาเสื่อม โดยตรง แต่อาจ ส่งผล ทำให้ สายตาสั้น ชั่วคราว เมื่อพัก การใช้ สายตา ก็จะทำให้ สายตา กลับสู่ ภาวะปกติ และ ไม่มีผล ต่อวุ้นตา และ หากใช้ สายตา อย่างหนัก แบบต่อเนื่อง เป็นเวลานาน อาจจะ ทำให้ รู้สึกเคืองตา หรือ ปวดตาได้
หากอาการ วุ้นในตาเสื่อม ส่งผลกระทบ ต่อการ มองเห็น อาจต้องรักษา ด้วยวิธี ดังนี้
1) การผ่าตัดวุ้นตา ( Vitrectomy ) โดยผ่าตัด วุ้นตา ที่จับตัวกัน เป็นตะกอนออก และ ทดแทน วุ้นตาด้วย สารละลาย แต่วิธีนี้ อาจทำให้ เกิดภาวะ แทรกซ้อน หลังการผ่าตัด อย่างเช่น เลือดออก ในตา และ จอตา ฉีกขาด และ อาจมี โอกาส ที่จะเกิด อาการ วุ้นตาเสื่อม ได้ใหม่ ในภายหลัง
2) การเลเซอร์ สลายตะกอน วุ้นตา ซึ่งอาจช่วย ให้อาการ มองเห็นจุด หรือ มองเห็น เงาดำในตา หายไป หลังการรักษา แต่วิธีนี้ ไม่เป็นที่นิยม ในการรักษา มากนัก เนื่องจาก การเลเซอร์ อาจใช้ ไม่ได้ผล สำหรับ ผู้ป่วย บางราย และ อาจทำให้ จอตา ได้รับ ความเสียหาย หรือ อาจถูก ทำลายได้
อาการ วุ้นตาเสื่อม มักจะเกิดขึ้น ตามวัย และ ไม่มีวิธี ป้องกัน ได้โดยตรง แต่การ ดูแล ดวงตา ด้วยการ ถนอมสายตา ทานอาหาร ที่มีประโยชน์ และ ควรตรวจตา เป็นประจำ แม้จะไม่มี ปัญหา ในเรื่อง สายตา โดยเฉพาะ ผู้ที่มี อายุมากกว่า 40 ปี อาจช่วย ป้องกัน ความเสื่อม ของดวงตา ก่อนวัย อันควรได้
อ่านบทความเพิ่มเติม
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :