MWWellness วิธีการ รักษา และ ป้องกัน ตากุ้งยิง ในเด็ก

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร วิธีการ รักษา และ ป้องกัน ตากุ้งยิง ในเด็ก

MWWellness ตากุ้งยิง เกิดจากการ ติดเชื้อ แบคทีเรีย ของต่อมไขมัน ที่บริเวณ เปลือกตา ซึ่งเด็ก เป็นวัยที่ ชอบเล่นสนุก ซุกซน และ ชอบหยิบจับ สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ถ้าหาก ไม่ได้ล้างมือ ให้สะอาด แล้วเอามือ ไปขยี้ตา ก็อาจทำให้ เกิดการ ติดเชื้อ ที่บริเวณ ดวงตา ได้ง่ายมาก

วิธีการ รักษา และ ป้องกัน ตากุ้งยิง ในเด็ก

วิธีการ รักษา และ ป้องกัน ตากุ้งยิง ในเด็ก


ตากุ้งยิง เกิดจากการ ติดเชื้อ แบคทีเรีย ของต่อมไขมัน ที่บริเวณ เปลือกตา ซึ่งเด็ก เป็นวัยที่ ชอบเล่นสนุก ซุกซน และ ชอบหยิบจับ สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ถ้าหาก ไม่ได้ล้างมือ ให้สะอาด แล้วเอามือ ไปขยี้ตา ก็อาจทำให้ เกิดการ ติดเชื้อ ที่บริเวณ ดวงตา ได้ง่ายมาก

Methods-for-treating-and-preventing-eye-stye-in-children

โดยทั่วไปแล้ว ตากุ้งยิง สามารถ หายได้เอง ภายใน 2–3 วัน แต่หาก ได้รับ การดูแล รักษา อย่างเหมาะสม จะช่วยทำให้ อาการ ของเด็ก หายเร็วขึ้น ซึ่งอาจใช้ วิธีการ ดังต่อไปนี้

1) การดูแล อาการ ที่บ้าน

การประคบร้อน บริเวณ ดวงตา จะช่วย ขับหนอง ที่เกิดการ อักเสบใน ตากุ้งยิง ไหลออกมา ทำให้หาย จากอาการต่าง ๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น โดยใช้ ผ้าขนหนู ที่สะอาด ชุบน้ำอุ่น ประคบลง บริเวณ ดวงตา ของเด็ก ประมาณ 5–10 นาที ทำซ้ำ ๆ วันละ 3–4 ครั้ง

 

2) การดูแล รักษา โดยแพทย์

หากอาการ ของเด็ก ยังไม่ดีขึ้น ภายใน 2–3 วัน หรือ มีอาการ แย่ลง ควรพาเด็ก ไปพบแพทย์ เพื่อรับการ ตรวจรักษา โดยแพทย์ อาจจ่ายยา ปฏิชีวนะ ชนิดยาหยอด ครีม หรือ ขี้ผึ้ง มาทาบริเวณ ที่มีตุ่มนูน ในกรณีที่ อาการ ยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจ แนะนำ ให้เด็กทานยา ปฏิชีวนะ เพื่อช่วยรักษา อาการ ร่วมด้วย

 

3) การดูแล โดยการ ผ่าตัด

การผ่าตัด จะใช้ได้ ในกรณี ที่อาการ ตากุ้งยิง ยังไม่ดีขึ้น หลังจาก การดูแล ตัวเอง ที่บ้าน และ การใช้ยา ร่วมแล้ว หรือ กรณีที่ ตากุ้งยิง รบกวน การมองเห็น ซึ่งวิธีนี้ แพทย์จะใช้ ยาชา และ ผ่าตัด นำหนอง หรือ สิ่งที่อุดตัน บริเวณ ดวงตาออก

Methods-for-treating-and-preventing-eye-stye-in-children

วิธีการ ป้องกัน การเกิด ตากุ้งยิง ในเด็ก มีดังนี้

1) ควรฝึกให้เด็ก ล้างมือ ให้สะอาด อย่างเป็น ประจำ โดยเฉพาะ หลังจาก การออกไป วิ่งเล่น นอกบ้าน การใช้ ห้องน้ำ ตามที่สาธารณะ การกลับจาก โรงเรียน หรือ เมื่อเด็ก หยิบจับ สิ่งของต่าง ๆ

2) ไม่ควรใช้ มือถู ขยี้ หรือ สัมผัส ดวงตา

3) ไม่ควรใช้ ผ้าเช็ดตัว หรือ ผ้าเช็ดหน้า ร่วมกับ คนอื่น โดยเฉพาะ กับคนที่ กำลังเป็น ตากุ้งยิง

4) ในกรณี ที่ใช้เครื่องสำอาง ควรล้าง ทำความสะอาด เครื่องสำอาง ก่อนเข้านอน อย่างเสมอ โดยเฉพาะ บริเวณ ดวงตา และ ไม่ควร ใช้เครื่องสำอาง ที่หมดอายุ หรือ เปิดใช้งาน มานานเกิน 3 เดือน

5) ควรเช็ด ทำความสะอาด บริเวณ รอบดวงตา ด้วยการใช้ สำลี หรือ ผ้าสะอาด ชุบน้ำ ผสมสบู่ ชนิดอ่อนโยน แชมพูเด็ก หรือ น้ำยา สำหรับ ทำความสะอาด บริเวณ ดวงตา โดยเฉพาะ

 

นอกจากนี้ หากเด็ก เพิ่งหาย จากการเป็น ตากุ้งยิง การประคบร้อนบ่อย ๆ จะช่วยป้องกัน ให้ไม่เกิด อาการ ตากุ้งยิง ซ้ำอีกได้

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ผมร่วงเป็นหย่อม เกิดจากอะไร

โรคไหลตาย ไม่มีสัญญาณเตือน ภัยเงียบที่อันตราย


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook