ปวดหัวข้างเดียว ปวดแบบตุ้บ ๆ บางครั้งปวดมาก จนไม่เป็นอันทำอะไร แถมมี อาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย ซึ่งเหล่านี้ คืออาการเตือนของ โรคไมเกรน หรือ ปวดหัวไมเกรน นั่นเอง
ปวดหัวไมเกรน ( Migraine Headache ) เป็น อาการปวดหัว ที่ไม่ธรรมดา ที่มีระดับอาการปวด ที่รุนแรง และมีระยะเวลา ของอาการ ที่ยาวนานกว่า จนสร้างความทรมาน และมีผลกระทบ ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งอาการ ‘ไมเกรน’ ไม่ได้แสดงออก ผ่าน อาการปวดหัว แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังออกอาการ เชื่อมโยงไปถึง สัมผัสต่าง ๆ ที่เรา อาจไม่เคยรู้ มาก่อน
ปวดหัวไมเกรน คืออะไร ?
ไมเกรน ( Migraine ) หรือ ปวดหัวไมเกรน เป็น อาการปวดศีรษะเรื้อรัง ชนิดหนึ่ง ที่รบกวนชีวิตประจำวัน มีลักษณะอาการ ที่สังเกตได้ ก็คือ ปวดศีรษะ แบบตุบ ๆ มักจะเกิดอาการ ปวดหัวข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง ก็ได้ โดย โรคไมเกรน ส่วนใหญ่ มักพบในผู้หญิง มากกว่า ผู้ชาย และมักเป็นในผู้ที่มี ความเครียดทางอารมณ์ และจิตใจสูง ซึ่งนอกจาก จะเป็นการรบกวน ชีวิตประจำวันแล้ว ยังส่งผลต่อ ปัญหาสุขภาพ ในระยะยาว อีกด้วย
สาเหตุของ อาการปวดหัวไมเกรน
สาเหตุของการเกิดอาการ ปวดหัวไมเกรน ที่ยังไม่ทราบสาเหตุ ที่เเน่ชัด เเต่จากวินิจฉัย ของการเกิดของ โรคไมเกรน น่าจะมาจาก ความผิดปกติชั่วคราว ในการทำงาน ของสมอง ที่มีผลกระทบต่อ เส้นประสาท สารเคมี และการทำงานที่ผิดปกติ ของหลอดเลือดในสมอง และยังมีผลมาจากกรรมพันธุ์ ในครอบครัว ที่มีประวัติเป็น ไมเกรน จึงทำให้ บุตร - หลาน ก็มีโอกาส เป็นไปด้วย
โดยสิ่งกระตุ้นที่สำคัญ ก็คือ ความเครียด, ฮอร์โมน และอารมณ์ในร่างกาย, การอดนอนที่เป็นเวลานาน, การรับประทานอาหาร, สิ่งแวดล้อม, หรือการใช้ยา, กลิ่นน้ำหอม, กลิ่นบุหรี่, และผู้ป่วย ที่เป็นคนแพ้ช็อคโกแลต อีกทั้งรวมไปถึง ผู้หญิงที่มีภาวะ การมีประจำเดือน เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้ ปวดหัวไมเกรน หรือ ไมเกรน ได้ สำหรับคนทำงาน การอดนอน เป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้เกิด อาการไมเกรน ได้ด้วย เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งกระตุ้นที่เกิดขึ้น ของเเต่ละคน จะไม่เหมือนกัน ซึ่งผู้ป่วยควรสังเกต อาการของตนเอง เพื่อประโยชน์ ต่อการรักษา ที่ดีของเรา
วิธีรักษา อาการไมเกรน แบ่งได้ 2 แบบดังนี้
1. การปรับเปลี่ยน วิถีการดำเนินชีวิต ที่หนักจนเกินไป อาจจะให้ลดลง และควรพักผ่อน ให้เพียงพอ
2. คือการใช้ยา เพื่อรักษาตามอาการ ที่เกิดขึ้น ถ้าหากไม่เป็นอะไรมาก ก็จะเริ่มต้นที่ยาทั่วไป เพื่อระงับอาการ ปวดหัวไมเกรน แต่หากทานยาแล้ว ยังไม่ดีขึ้น ก็ควรพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย ซึ่งแพทย์ อาจให้มีการตรวจเพิ่มเติม ได้แก่
- การตรวจเลือด เพราะอาจมีการติดเชื้อ ที่เส้นประสาทไขสันหลัง หรือสมอง และอาจเกิดพิษในระบบ ร่างกาย ของผู้ป่วยได้
- การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง ( Lumbar Puncture ) ซึ่งแพทย์ จะให้มีการตรวจวิธีนี้ หากสงสัยว่าผู้ป่วย มีการติดเชื้อ หรือมีเลือดออกในสมอง
- การใช้เครื่อง CT Scan ( Computerized Tomography ) หรือ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่ให้ความละเอียดที่มากขึ้น กว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา ซึ่งเป็นการหาความผิดปกติต่าง ๆ ในร่างกาย โดยทำให้เห็นภาพ ของสมอง และให้แพทย์สามารถวินิจฉัย ความผิดปกติต่าง ๆ ได้มากขึ้น
ปวดหัวไมเกรน สามารถบรรเทา ได้ด้วยการ รับประทานยา และพักผ่อนให้เพียงพอ โดยการดูแล สุขภาพ ร่างกาย ของเราเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ และไม่เครียด มากจนเกินไป ซึ่งถือว่าเป็นวิธี ที่ช่วยในการป้องกัน จาก อาการไมเกรน หรือ ปวดหัวไมเกรน ได้ และสำหรับ การรักษานั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัย ที่เป็นสาเหตุ ของ อาการปวดศีรษะ ถ้าหากเรามี อาการปวดศีรษะ หรือ ปวดหัวไมเกรน ดังกล่าว ก็ควรได้รับคำแนะนำ และวินิจฉัย จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่ดีได้
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :