MWWellness สัญญาณ บ่งบอก ถึงความเสี่ยง โรคหัวใจขาดเลือด

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร สัญญาณ บ่งบอก ถึงความเสี่ยง โรคหัวใจขาดเลือด

MWWellness โรคหัวใจขาดเลือด ( Heart Attack ) เกิดขึ้นเมื่อ มีเลือดสูบฉีด ภายใน หัวใจ ลดลง หรือ เลือดขาด การไหลเวียน จนทำให้ กล้ามเนื้อ ส่วนหัวใจ ได้รับเลือด ไม่เพียงพอ โรคนี้ ถือเป็น โรคอันตราย เพราะผู้ป่วย อาจไม่ทัน ได้ระวัง และ อาจทำให้ เสี่ยงต่อ ชีวิตได้

สัญญาณ บ่งบอก ถึงความเสี่ยง โรคหัวใจขาดเลือด

สัญญาณ บ่งบอก ถึงความเสี่ยง โรคหัวใจขาดเลือด


โรคหัวใจขาดเลือด ( Heart Attack ) เกิดขึ้นเมื่อ มีเลือดสูบฉีด ภายใน หัวใจ ลดลง หรือ เลือดขาด การไหลเวียน จนทำให้ กล้ามเนื้อ ส่วนหัวใจ ได้รับเลือด ไม่เพียงพอ โรคนี้ ถือเป็น โรคอันตราย เพราะผู้ป่วย อาจไม่ทัน ได้ระวัง และ อาจทำให้ เสี่ยงต่อ ชีวิตได้

signs-indicate-risks-Heart-Attack

อาการของ โรคหัวใจขาดเลือด ที่ไม่ควร มองข้าม

1) เจ็บหน้าอก ที่มาจาก โรคหัวใจขาดเลือด ( Angina Pectoris ) โดยผู้ป่วย จะรู้สึก เจ็บแน่น บริเวณ กลางอกหรือ บริเวณ ใต้อก คล้ายถูกกด หรือ ถูกรัดไว้ อาการเจ็บ เหล่านี้ อาจลุกลาม ไปในบริเวณต่าง ๆ ในร่างกาย อย่างเช่น ไหล่ข้างซ้าย แขนข้างซ้าย หรือ อาจเกิดขึ้นกับ แขนทั้ง 2 ข้าง  ขากรรไกร คอ หลังส่วนบน หรือ ลิ้นปี่ เป็นต้น

2) หัวใจ มีอัตรา การเต้น แบบผิดจังหวะ

3) หายใจ ไม่อิ่มท้อง หายใจ ค่อนข้าง ลำบาก เหนื่อยง่าย ผิดปกติ หรือ มีอาการ อ่อนเพลีย โดยไม่ทราบ ถึงสาเหตุ

4) ระบบย่อยอาหาร ทำงาน ผิดปกติ อย่างเช่น การเรอ คลื่นไส้ แสบร้อน บริเวณ กลางอก อาเจียน หรือ อาหาร ไม่ย่อย

5) มีอาการ ปวดหัว หรือ เวียนหัว รวมถึง ปวดฟัน

6) มีเหงื่อออก ปริมาณมาก

7) ขา ข้อเท้า หรือ เท้า มีอาการบวม

signs-indicate-risks-Heart-Attack

หากตนเอง หรือ คนใกล้ชิด มีอาการ โรคหัวใจขาดเลือด ควรนำตัว ส่งห้องฉุกเฉิน อย่างเร่งด่วน หรือ โทรเรียก รถพยาบาล เบอร์สายด่วน 1669 โดยใน ระหว่าง ที่รอรถพยาบาล มารับ ต้องปฎิบัติ ดังต่อไปนี้

1) คลายเสื้อของ ผู้ป่วย ให้หลวม คอยตรวจดู การหายใจ และ ตรวจดูว่า ผู้ป่วย หมดสติ หรือไม่

2) กรณีที่ผู้ป่วย หายใจได้ ตามปกติ ให้จัดท่า ให้อยู่ในท่า นอนตะแคง จับแขนที่อยู่ ด้านบนของลำตัว ข้ามหน้าอก มาวางมือ ไว้ที่แก้ม อีกข้างหนึ่ง โดยแขนอีกข้าง เหยียดตรง ออกไป ด้านหน้า หลังจากนั้นค่อย ๆ จับเข่า ข้างที่อยู่ ด้านบนนั้น ให้งอขึ้นไป ให้ตรงกับ ตำแหน่ง ศอกข้างที่ เหยียดตรง

3) หากผู้ที่มีอาการ มียาไนโตรกลีเซอริน ( Nitroglycerin ) ที่แพทย์ จ่ายให้ ให้อมยาไว้ใต้ลิ้น โดยทันที เมื่อมีอาการ เจ็บแน่น บริเวณหน้าอก โดยห้ามเคี้ยว หรือ กลืนเด็ดขาด หากอาการ เจ็บหน้าอก ไม่ดีขึ้น หลังจาก การใช้ยา ให้อมยา ซ้ำอีก 1 เม็ด โดยเว้น ระยะเวลา จากเม็ดแรก ประมาณ 5 นาที และ สามารถ อมติดต่อกันได้ ไม่เกิน 3 เม็ด

 

กรณีที่เกิด โรคหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยหยุดหายใจ คลำไม่เจอ ชีพจร และ หมดสติไป ให้จับผู้ป่วย นอนราบ และ เริ่มการทำ CPR หรือนวดหัวใจ ด้วยการ วางสันมือซ้อนกัน บนกระดูก บริเวณหน้าอก และ ประสานนิ้วกัน ก่อนจะกดลง บนหน้าอก ประมาณ 15 ครั้ง แล้วสลับมาเป็น เป่าปาก 2 ครั้ง เพื่อช่วยให้ เลือดไหลเวียน ได้ดีขึ้น ในระหว่าง ที่กำลัง รอรถพยาบาล

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

อั้นอุจจาระบ่อยๆ เสี่ยงอันตรายยังไง

วุ้นในตาเสื่อม อาการ เสี่ยงอันตราย ที่ไม่ควร มองข้าม


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook