วุ้นตาเสื่อม ภัยร้ายต่อดวงตา อันตรายต่อการมองเห็น
ดวงตา เป็นสิ่งที่เรา ต้องดูแลให้มากที่สุด วันนี้พามารู้จัก โรค วุ้นตาเสื่อม ภัยร้ายต่อดวงตา อันตรายต่อการมองเห็น หากเป็นแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ส่งผลต่อการมองเห็น
ก่อนอื่น มารู้จัก ภาวะวุ้นตาเสื่อม
วุ้นตา ( Vitreous ) นั้น เป็นส่วนประกอบสำคัญ ภายในดวงตา โดยมีลักษณะ เป็นวุ้นเหลว ใส คล้าย ๆ ไข่ขาว อยู่หลังเลนส์ตา ที่ยึดติดกับผิวจอตา ซึ่ง ภาวะวุ้นตาเสื่อม ( Vitreous Degeneration ) เป็นได้ ก็เมื่ออายุมากขึ้น และอาจเสื่อมได้ เร็วกว่าปกติ ในผู้ที่มี สายตาสั้นมาก หรือเคยได้รับ อุบัติเหตุ ที่บริเวณดวงตา วุ้นตา ที่เสื่อม นั้นจะเหลวลง หดตัว และขุ่นขึ้น เมื่อมีแสงผ่านวุ้นตา ที่เสื่อม ก็จะหักเห ทำให้เห็นเป็นเงาดำ ๆ ลักษณะเป็นจุด ๆ และเส้นคล้ายหยากไย่ ที่ลอยไปมา อยู่ในภายดวงตา
ส่วนประกอบ ของ ดวงตา มีอะไรบ้าง ?
1. ม่านตา
2. รูม่านตา
3. กระจกตา
4. ช่องหน้าตา
5. เลนส์ตา
6. เยื่อตาขาว
7. จอตา
8. จุดภาพชัด
9. เส้นประสาทตา
10. วุ้นตา
ซึ่งโรควุ้นตาเสื่อมวุ้นตาเสื่อม ( Vitreous Degeneration ) นั้น เป็นโรคที่พบได้บ่อย ๆ และเป็นกันมาก โดยปกติแล้ว ลูกตาจะมีวุ้นตา ( Vitreous ) อยู่ภายในช่องตาส่วนหลัง เพื่อช่วยคงรูปร่างของลูกตา ตั้งแต่เกิดวุ้นตา ก็จะมีลักษณะเป็นเจลหนืด ใส ยึดติดกับจอตา ที่บุอยู่ภายในลูกตา โดยรอบ ซึ่งประมาณ 99% ของวุ้นตา เป็นน้ำ ส่วนที่เหลือประกอบ ด้วย โปรตีน เส้นใย อาทิ คอลลาเจน กรดไฮยาลูโรนิก และพวกสารเกลือแร่ต่าง ๆ เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน หรือว่า อาจจะเร็วขึ้นในบางภาวะ วุ้นตาจะเสื่อมตัว ก็กลายสภาพเป็นน้ำ เส้นใยไฟเบอร์ขนาดเล็ก ภายในตาจะหดจับกันเป็นก้อนตะกอนขุ่น และวุ้นตา ก็จะลอกออกจากผิวจอตา ทำให้เห็นเป็นเงาดำ ๆ อาจเป็นจุดเล็ก ๆ เส้น ๆ หรืออาจ้ห็นเป็นวง ๆ ลอยไปมาในตา โดย เรียกภาวะนี้ว่า Posterior Vitreous Detachment ( PVD ) อันเกิดจากการหลุดลอก ของวุ้นตา ที่เกาะอยู่เป็นวงรอบ ๆ ขั้วประสาทตา
ขณะที่วุ้นตาลอกตัว จากจอตา ก็อาจมีการฉีกขาด ของหลอดเลือดบริเวณจอตา ทำให้มีเลือดออกในวุ้นตา และทำให้เกิดเป็นเงาดำบังการมองเห็นบางส่วน หรือว่าหากมีการดึงรั้งของวุ้นตาที่จอตาบางบริเวณ ที่ยึดติดแน่น ก็อาจทำให้เกิดการฉีกขาดที่จอตา สามารถพบได้ 10 – 20% ของผู้ป่วยที่มีวุ้นตาเสื่อม มักจะทำให้มีอาการเห็นแสงไฟวาบขึ้นในตา โดยจะสามารถเห็นชัดเจนในที่มืด หากปล่อยทิ้งไว้ โดยไม่ได้รับการรักษา ก็จะนำไปสู่ภาวะจอตาหลุดลอก ( Retinal Detachment ) นั่นอาจมีอาการเห็นคล้ายม่านบังตาบางส่วน และอจาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้
สาเหตุวุ้นตาเสื่อม โดยจากหลายสาเหตุ ได้แก่
● ภาวะความเสื่อมตามวัย ซึ่งนี่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด
● การอักเสบในวุ้นตา และในจอตา ( Intermediate and Posterior Uveitis ) ซึ่งนั่นก็อาจเกิดจากการอักเสบ จากภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกาย การติดเชื้อ หรือเกิดจากภาวะทางกายอื่น ๆ อาทิ มะเร็ง เป็นต้น
● ภาวะเลือดออกในน้ำวุ้นตา จากอุบัติเหตุ หรือโรคที่อาจทำให้มีความผิดปกติของหลอดเลือด
อาการของ โรควุ้นตาเสื่อม
1. เริ่มมองเห็นจุดหรือเส้นสีดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมาโดยเฉพาะเวลากลอกตา หรือมองที่ผนังสีขาว หรือท้องฟ้า
2. ระยะแรกจะสังเกตเห็นเงาของวุ้นตาที่เสื่อมเป็นจุดและเส้นดำลอย ซึ่งจะเคลื่อนไหวเมื่อกลอกตา อาจรบกวนการมองและรู้สึกรำคาญ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสมองจะเรียนรู้และละเลยเงาเหล่านี้ไปเอง อาจไม่เห็นหากไม่พยายามสังเกต
3. เมื่อวุ้นตาเหลวและหดตัวมาก อาจจะลอกตัวออกจากผิวจอตาเอง และอาจดึงรั้งผิวจอตาทำให้เกิดการกระตุ้นจอตาเห็นเป็นแสงวาบคล้ายแฟลชจากกล้องถ่ายรูป หรือแสงฟ้าแลบในดวงตาแม้ในขณะหลับตา ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืดหรือเวลากลางคืน อาการเหล่านี้อาจลดลงและหายไปเมื่อจอตาถูกดึงรั้งจากวุ้นตาลดลง
4. สำหรับผู้ป่วย ในบางรายนั้น วุ้นตาอาจดึงรั้งหลอดเลือดที่จอตาให้ฉีดขาดและเกิดเลือดออกในวุ้นตาทำให้เห็นเงาดำเพิ่มมากขึ้นทันที ซึ่งถ้าวุ้นตาติดแน่นกับจอตามากอาจดึงรั้งให้จอตาฉีกขาดได้ และหากวุ้นตาที่เหลวเซาะเข้าไปในรอยขาด จะทำให้จอตาลอกและอาจสูญเสียการมองเห็นได้
การดูแล ภาวะวุ้นตาเสื่อม
สำหรับผู้ที่มีอาการมองเห็นจุดดำลอยหรือแสงแฟลชในตาควรพบจักษุแพทย์เพื่อขยายรูม่านตาและตรวจจอตาและวุ้นตาอย่างละเอียด หลังหยอดยาขยายม่านตาจะมีอาการตาพร่า และจะกลับเป็นปกติเมื่อยาหมดฤทธิ์ใน 4-6 ชั่วโมง
ซึ่ง ภาวะวุ้นตาเสื่อม นั้นไม่จำเป็นต้องรักษา ควรติดตามสังเกตอาการ ซึ่งอาจจะค่อยๆ ลดลงเองได้ ควรตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดการดึงรั้งจอตา อย่างเช่น การสะบัดศีรษะอย่างรุนแรงและอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับดวงตา จักษุแพทย์นั้นจะนัดตรวจเป็นระยะตามปัจจัยเสี่ยง หากอาการไม่ลดลงและตรวจพบรอยฉีกขาดที่จอตา การรักษาด้วยเลเซอร์จะช่วยป้องกันจอตาลอกได้ อย่างไรก็ตาม การเห็นเงาดำอาจเกิดจากภาวะอื่นๆ ได้
เพราะฉะนั้น หากมีอาการเกิดขึ้น จึงควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ เพื่อความปอดภัยของดวงตา และรักษาดวงตาคู่นี้ ให้อยู่กับเราได้นานที่สุด
อ่านบทความเพิ่มเติม
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :