MWWellness โรคไต ไม่กินเค็มก็เป็นได้

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร โรคไต ไม่กินเค็มก็เป็นได้

MWWellness ร่างกายคนเรา มีส่วนประกอบของอวัยวะที่สำคัญ ๆ หลายอย่าง เช่น หัวใจ ตับ ไต สมอง ปอด แขน ขา ดวงตา ฯลฯ ซึ่งทุกอวัยวะต่างมีความสำคัญ และทำงานเกี่ยวข้องประสานกัน เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข และอวัยวะอย่าง "ไต" ก็เช่นกัน

โรคไต ไม่กินเค็มก็เป็นได้

โรคไต ไม่กินเค็มก็เป็นได้


โรคไต ไม่กินเค็มก็เป็นได้

    ร่างกายคนเรา มีส่วนประกอบของอวัยวะที่สำคัญ ๆ หลายอย่าง เช่น หัวใจ ตับ ไต สมอง ปอด แขน ขา ดวงตา ฯลฯ ซึ่งทุกอวัยวะต่างมีความสำคัญ และทำงานเกี่ยวข้องประสานกัน เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข และอวัยวะอย่าง ”ไต” ก็เช่นกัน

 

ไตคนเรามี 2 ข้าง อยู่บริเวณด้านหลังบริเวณบ้านเอวภายหลังที่เรารับประทานอาหาร ขนม หรือน้ำดื่ม ร่างกายจะเก็บสิ่งที่ดีมีประโยชน์ไว้ ส่วนเกินหรือสิ่งที่ไม่ต้องการจะถูกขับออกทางไตเป็นปัสสาวะ ในน้ำปัสสาวะจะมีสารหลายชนิดที่ร่างกายไม่ต้องการ รวมทั้งเกลือแร่ กรด ด่าง เพื่อปรับสมดุล

 

แต่เมื่อไรก็ตามที่ร่างกายเริ่มแสดงอาการอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น บวมตามใบหน้า แขน ขา อ่อนเพลีย ความดันโลหิตสูง เบื่ออาหาร ซีดลง เหนื่อยง่าย ปัสสาวะมีสีผิดปกติ แสดงว่าไตเริ่มทำงานไม่ปกติแล้ว แต่บางคนก็ไม่มีอาการ เพราะร่างกายสามารถปรับตัวได้ดีมาก

 

แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไต ในหน้าร้อนควรให้ความใส่ใจกับการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ และท่านก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียง…

 

1.ผู้ป่วยโรคไต ชนิดน้อยถึงปานกลาง

คือความดันโลหิตไม่สูงมาก ไม่มีอาการบวมแขนและขา ปัสสาวะออกเกิน 1 ลิตรต่อวัน สามารถดื่มน้ำได้ตามปกติ ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละ 1 ลิตรครึ่ง ถึง 2 ลิตร หรือตามคำแนะนำของแพทย์ที่ดูแลรักษาประจำ เพื่อการขับถ่ายของเสียจะเป็นไปได้ตามปกติ

 

2.ผู้ป่วยโรคไตระยะท้าย

ควรดื่มน้ำเมื่อกระหายในปริมาณพอดี ๆ ในแต่ละครั้ง แต่ไม่ควรเกินครึ่งลิตร/วัน เพราะร่างกายไม่ค่อยมีเหงื่อออกและปัสสาวะน้อยอยู่แล้ว จึงควรระมัดระวังให้น้ำหนักคงที่ ไม่มากเกินไปจนเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น น้ำท่วมปอด เป็นต้น

 

3.ผู้ป่วยโรคไตที่มีความดันสูง

ไม่ควรเดินหรือยืนตากแดดนานไป เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตอาจสูงมากไป หรือต่ำเกินไป จนเป็นลมหรือเกิดอุบัติเหตุได้

 

แล้วเรื่องการรับประทานล่ะ

“ผู้ป่วยโรคไต ที่หน้าที่ไตยังปกติ” สามารถรับประทานอาหารที่รสไม่เค็มจัดจนเกินไป และผลไม้ได้พอสมควร เพียงแต่จะต้องระวังเรื่องน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

ส่วนกรณีของ”ผู้ป่วยโรคไต บางระยะที่การทำงานเสื่อมลงปานกลางหรือมากแล้ว”จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ถั่ว เครื่องดื่มที่มีสีดำ ผลไม้ที่จะทำให้เกิดการสะสมของธาตุโปตัสเซียม เช่น มะม่วง ทุเรียน ลิ้นจี่ ขนุน ลำไย เงาะ ธาตุโปตัสเซียม ซึ่งจะส่งผลร้ายต่อผู้ป่วยโรคไต เนื่องจากจะทำให้หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ และหยุดเต้นทันทีเลยก็ได้

 

เมื่อผู้ป่วยได้บริโภคอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาวะที่ร่างกายเป็นอยู่ ก็จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ที่สำคัญช่วยยืดอายุให้ยืนยาวมากขึ้นค่ะ ถ้าคุณกำลังจะเผชิญจะโรคไตอยู่ แล้วหาทางออกไม่ได้ สามารถมาปรึกษากับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่ mw wellness ได้เลยค่ะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก sanook

 

อ่านบทความเพิ่่มเติม

ท้องผูก ถ่ายไม่ออกนาน ๆ อันตรายหรือเปล่า

MW WELLNESS กับมาตรการป้องกันการติดเชื้อ COVID – 19

รู้ทัน เบาหวาน ก่อนเกินอันตราย


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook